Watchmaker ใน Switzerland เขาทำงานกันอย่างไร ได้เงินเดือนเท่าไหร่เหรอคะ?

เท่าที่พอทราบมาเขาจะมีโรงเรียนเปิดสอนเลยเเต่ไม่เเน่ใจว่าสำหรับที่สวิตเซอร์เเลนด์เเล้วอาชีพ Watchmaker เนี่ย เป็นอาชีพเเบบเเรงงานในประเทศไทยหรืออาชีพสูงส่ง อยากรู้เเนวทางอ่ะค่ะ
คือ นึกภาพออกเเต่บ้านเราที่มีร้านซ่อมนาฬิกา รับเปลี่ยนถ่านอ่ะนะ - -"เลยเดาไม่ออกจริงๆ
เเล้วก็อยากรู้ด้วยว่าเค้าได้เงินเดือนกันเท่าไหร่ใครรู้จักคนสวิสหรือมีเพื่อนเป็น Watchmaker ช่วยบอกหน่อยค่า
อ้อ...เเล้วคนสวิสเนี่ย หัวล้านเยอะจริงป่ะคะ เจอเเต่ละคน ผมไม่ค่อยมีกันเลยอ่า ^^"
http://www.youtube.com/v/OiaTi6JOo_c
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมนาฬิกาที่สวิสเขาจะต้องเรียน 3-4ปี
และจะต้องเก่งคำนวน ฟีสิคและเลข
และจะต้องมีความอดทนสูง
และเป็นคนละเอียดกับงานใช้มือ


งานซ่อมนาฬิกาเหมือนเรียนวิชาชีพอื่นๆ
คือพอจบม. 3 แล้วจะต้องเลือกเรียนอาชีพใดอาชีพหนึ่งที่เราชอบ
หรือแม้แต่ไม่ชอบก็จะต้องเลือกเรียนและฝึกงาน
เพื่อที่จะได้มีใบรับรองการเรียนการฝึกงานว่าเราเรียนจบและสอบผ่านมาแล้ว


หลังจากเรียนจบแล้วก็จะมีงานรองรับ
ในห้างร้านใหญ่ๆอย่างผู้ชำนาญ
ในบริษัท
ในศูนใหญ่ๆ

และเงินเดือนที่สวิสจะต้องมีขั้นต่ำเริ่มต้นหลังจากที่เรียนจบ
หลังจากเรียนจบจะมีอายุราวๆ 20-22
แล้วแต่อาชีพที่เลือกเรียนและฝึกงาน
เงินเดือนจะเริ่มขั้นต่ำหลังจากที่เรียนจบ
หลังจากนั้นก็จะขึ้นไปเรื่อยๆตามวัยตามความสามารถ
และจะหยุดขึ้นเมื่อได้เงินเดือนในระดับสูงสุด


ช่างซ่อมนาฬิกาที่สวิสจะไปเปรียบเทียบกับ
ช่างซ่อมนาฬิกาเปลี่ยนถ่านตามริมถนนบ้านเราไม่ได้

เพราะว่าที่สวิสเขามีนาฬิกาชื่อดังหลายยี่ห้อ
และส่วนมากไม่ค่อยมีใครเอานาฬิการาคาไม่มากไปซ่อม
เพราะราคาซ่อมมากกว่าราคาซื้อ
นอกจากนาฬิกาเรือนละแพงๆราคาเรือนพันถึงจะคุ้ม

อาชีพนี้แม้จะไม่ค่อยมีใครเรียน
แต่มันก็เป็นอาชีพที่มีชื่อของคนสวิสถ้าเรียนจบมาแล้วได้ใบประกาศ
เพราะว่านาฬิกาสวิสจะมีชื่อเสียงก้องโลกนั่นเอง


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
จขกทถามเกี่ยวกับ Watchmaker ที่สวิสเซอร์แลนด์ ผมขอตอบเท่าที่สังเกตอาชีพนี้ที่อเมริกาแทนนะครับ และคิดว่าคงไม่แตกต่างกันมาก
ในวอชิงตันดีซี มีร้านคนไทยอยู่ร้านหนึ่ง เขาเป็นช่างแถวเยาวราชมาแต่เด็ก ธุรกิจเขาอยู่ได้ดีพอสมควรทีเดียว ทั้งๆที่อาชีพนี้น่าจะหายากแล้วครับ ส่วนอีกร้านหนึ่งเป็นของคนอาฟฆานิสถานเป็นพวก Fashion Time ครับ สำหรับนาฬิกาประเภท Hi-End นั้นทางร้านมักจะส่งคนของเขาไปฝึกที่โรงงานโดยตรง นาฬิการาคาถูก ส่วนนาฬิการาคาปานกลางลงมาคนมักจะซื้อทางเน็ตกันมากครับ

ไม่ทราบว่าเท็จจริงประการใด นาฬิกายี่ห้อแพงๆหลายยี่ห้อของสวิสเขาผลิตชิ้นส่วนที่เมืองไทยแล้วเอาไปประกอบที่สวิสเซอร์แลนด์

ผมเคยเรียนซ่อมนาฬิกาหลักสูตรสองวันที่เมืองไทยเพื่อที่จะบอกได้ว่านาฬิกาเก่าแพงๆเป็นของแท้หรือไม่ เก็บพวกราคาไม่มีราคาค่างวดมากไว้หลายเรือนเหมือนกัน

จะยึดอาชีพนี้อย่างเดียว ผมมองไม่เห็นทางครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ความคิดเห็นที่ 2
นาฬิกาข้อมือประเภท Digital หน้าปัดยี่ห้อสวิต
เครื่องในเป็นญี่ปุ่น ขายโดยเด็กสาวไทย ชาวพัทลุง
คนเฒ่าจากนคร ข้ามน้ำข้ามทะเล ไปซื้อที่สวิต ฮา
ยังไม่หนำใจ สายขาด ฝากเพิ่อนกลับไปเปลี่ยนสาย ที่ร้านเดิม ฮา ฮา ฮา
ปล. ไม่ใช่ผม

ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
สวัสดีค่ะคุณ__newcomer (gpvtu2009)

นาฬิกาสวิสหลายยี่ห้อสวยงามราคาแพงมาก
เสียดายตังค์ค่ะเพราะตัวเองไม่ชอบซื้อเครื่องประดับแพงๆ
คนมีเงินซื้อใส่ก็มีสง่ามาก

ที่ใส่อยู่ก็แค่เรอยนละ ไม่ถึง 300 ฟรังค์แค่นั้น Tissot ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ไดแต่เมียงมองค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
สวัสดีครับคุณ Willkommen
ผมก็ได้มีโอกาสเห็น นาฬิกาสวย นาฬิกาแพง
จากรูปแจ่มๆชัดๆของคุณนั้นแหละ
ส่วนตัวปัจจุบัน ไม่ค่อยได้ใช้นาฬิกาที่เป็นนาฬิกาเสียแล้ว
อาศัยดูเวลาจากโทรศัพย์มือถือ ที่ติดตัวประจำ ก็สะดวกดี
ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ผมเห็นว่าการเป็นช่างทำนาฬิกาของอเมริกากับยุโรปยังแตกต่างกันอยู่มากอย่างชัดเจนนะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่านาฬิกาที่ผลิตในอเมริกานั้นเป็นการผลิตในยุคสมัยใหม่แบบอุตสาหกรรมจำนวนมากหรือ mass production ในขณะที่นาฬิกาของยุโรปนั้นมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานซึ่งเริ่มต้นมาจากอาชีพช่างโลหะและช่างตีเหล็ก แล้วจึงพัฒนามาเป็นงาน "ศิลปฝีมือ" ซึ่งเรียกว่า genuine watch ซึ่งต้องใช้ฝีมือ (craft) ประสบการณ์ (experience) และพรสวรรค์ (talent) ก่อนที่จะมาเกิดโรงงานอุตสาหกกรมผลิตนาฬิกาในยุโรปต่อมาในยุคปี 1870 เป็นต้นมา เนื่องจากการเริ่มต้นอุตสาหกรรมขึ้นในอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งทำให้นาฬิกามีราคาถูกลงอย่างมากส่งผลให้การผลิตนาฬิกาของยุโรปต้องปรับเปลี่ยนตามไปเช่นกัน

นาฬิกาประเภทงานฝีมือ 10 อันดับแรกของโลกนั้น จำนวน 8 ใน 10 เป็นนาฬิกาของสวิส ได้แก่ Tag Heuer, IWC, Breitling, Omega, Rolex, Jaeger-LeCoultre, Zenith และ Fortis อันดับที่ 2 และ 4 เป็นของเยอรมันได้แก่ Sinn และ A. Lange & Söhne นาฬิกาประเภทนี้จะยังคงเป็นระบบแมคคานิคซึ่งมีชิ้นส่วนประกอบอยู่อย่างน้อย 300 ชิ้น และมีขั้นตอนทำงานมากกว่า 70 ขั้นตอน ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 พันชั่วโมงต่อการผลิตนาฬิกา 1 เรือน เปรียบเทียบกับนาฬิกาผลิตในโรงงาน เช่น Swatch ซึ่งมีชิ้นส่วนประกอบเพียง 51 ชิ้นเท่านั้น

ปรากฏการณ์ที่พิสูจน์ถึงชื่อเสียงของนาฬิกาสวิสได้ดีนั้นคือ นักบินอวกาศอเมริกันที่ลงเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลกนั้นใส่นาฬิกา Omega แต่โอบามาและรอมนี่ก็สนับสนุนอุตสาหกรรมนานาฬิกาอเมริกันโดยการใช้ American-made watch ทั้งสองคน

สวิสเองก่อนที่จะตั้งตัวกลับมาเป็นผู้นำทางการผลิตภัณฑ์นาฬิกาได้อีกครั้งในปัจจุบันนี้ก็ล้มลุกคลุกคลานมาแล้วหลายรอบตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สาหัสที่สุดคือการแข่งขันจากอเมริกาและญี่ปุ่นด้วยการนำระบบเทคนิคใหม่คือระบบอิเลคทรอนิคส์ที่ใช้ quartz crystal ซึ่งแท้จริงแล้วระบบนี้ช่างทำนาฬิกาสวิสมี know-how มาก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงปี 1960 แต่ไม่ได้นำมาพัฒนาใช้ให้เป็นผล จนในที่สุดเกิดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสขึ้นโดย Nicolas Hayek ผู้นำการผลิตนาฬิกา quartz ของสวิสยี่ห้อ Swatch ขึ้นและกลายเป็นบริษัทผลิตนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุดของโลก

ซึ่งถ้ามีการสงสัยว่าในบริษัทอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสเช่นว่านี้จะมีการผลิตอะไหล่ชิ้นส่วนในประเทศที่ค่าแรงถูกกว่า เช่น ไทย หรือ จีน ฯลฯ ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ผมไม่คิดว่านาฬิกายี่ห้อติดอันดับข้างต้นจะใช้มาตรการดังกล่าว เพราะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อชื่อเสียงและไม่คุ้มกับราคานาฬิกาเรือนเป็นแสนบาท

ทีนี้มาตอบคำถามของ จขกท เรื่องค่าจ้างของช่างทำนาฬิกา ใน 3 ประเทศนี้มีระบบการเรียนการสอนคล้ายกันคือ เยอรมนี สวิส และ ออสเตรีย โดยทั่วไปจะเป็นเช่นที่คุณ Willkommen กล่าวถึงไว้ ส่วนค่าจ้างนั้นจะได้รับเลยตั้งแต่เริ่มการเรียนในระบบฝึกงานควบคู่ไปด้วย อย่างเช่นในเยอรมนี นักเรียนช่างทำนาฬิกาปีแรกได้เงินค่าจ้างแล้วเดือนละราว 650 ยูโร ไปถึงปีที่สามจะได้ราว 900 ยูโร ในสวิสค่าจ้างจะสูงที่สุดในยุโรปสามารถบวกเพิ่มขึ้นไปได้เลย 2-3 เท่าตัว

อย่างที่อธิบายข้างต้นแล้วว่า ช่างทำนาฬิกานั้นขึ้นอยู่กับว่าทำงานที่ไหน? ทำงานกับนาฬิกาหรูราคาแพงและใช้ฝีมือมากเป็นงานยากและไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้เหมือนกันหมด ค่าจ้างก็จะสูงที่สุด ถ้าทำเป็นช่างในโรงงานอุตสาหกรรมค่าจ้างก็ต่ำลงมา ทำงานเป็นคนขายหรือศูนย์ซอมก็เป็นค่าจ้างอีกแบบ แต่สรุปให้เห็นภาพกว้างๆ ได้ว่า ช่างนาฬิกาของสวิสนั้นมีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนราว 5600 Frank หรือราว 3500 ยูโรต่อเดือน ค่าจ้างนี้ถ้าเป็นในเยอรมนีหรือออสเตรียจะต่ำกว่านี้คือราว 2000 ยูโร แต่เนื่องจากค่าครองชีพในสวิสสูงกว่ามากค่าจ้างในสวิสจึงจะสูงกว่าทุกประเทศในยุโรป

ที่คุณ Willkommen บอกว่าอาชีพช่างทำนาฬิกาเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยมีคนเรียนนั้น สาเหตุเพราะการผ่านคุณสมบัติในการเข้าเรียนไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างทำนาฬิกาแพงจะได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนและฝึกงานในบริษัทตั้งแต่เริ่มแรกเลย คนกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติดีที่สุดในสายอาชีพ อย่างที่บอกแล้วว่างานนี้เป็นงานที่ต้องใช้พรสวรรค์ด้วยนอกจากฝีมือและประสบการณ์ จึงเข้าข่ายงานศิลปะซึ่งหมายถึงการจะทำงานนี้ได้ดีต้องทำด้วยจิตใจที่ปราถนาอันแรงกล้าเช่นเดียวกับงานศิลป์อื่นๆ

นอกจากนั้นแล้วสวิสเองยังขาดช่างฝีมือทางด้านนี้อีกมาก ด้วยสาเหตุจากคนเก่าที่ต้องปลดเกษียนอายุไปและจำนวนคนใหม่ที่ต้องเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดโลกที่นาฬิกาสวิสได้รับนิยมสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 95% ของนาฬิกาที่ผลิตในสวิสจะเป็นสินค้าส่งออกและคิดเป็นส่วนแบ่งราว 35% ของตลาดโลก และถ้าเป็นส่วนแบ่งตลาดนาฬิกายี่ห้อแพงแล้ว นาฬิกาสวิสครองตลาดส่วนใหญ่อยู่ถึง 85%

ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7-1
"ผมเห็นว่าการเป็นช่างทำนาฬิกาของอเมริกากับยุโรปยังแตกต่างกันอยู่มากอย่างชัดเจนนะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่านาฬิกาที่ผลิตในอเมริกานั้นเป็นการผลิตในยุคสมัยใหม่แบบอุตสาหกรรมจำนวนมากหรือ mass production ในขณะที่นาฬิกาของยุโรปนั้นมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานซึ่งเริ่มต้นมาจากอาชีพช่างโลหะและช่างตีเหล็ก แล้วจึงพัฒนามาเป็นงาน "ศิลปฝีมือ" ซึ่งเรียกว่า genuine watch ซึ่งต้องใช้ฝีมือ (craft) ประสบการณ์ (experience) และพรสวรรค์ (talent) ก่อนที่จะมาเกิดโรงงานอุตสาหกกรมผลิตนาฬิกาในยุโรปต่อมาในยุคปี 1870 เป็นต้นมา เนื่องจากการเริ่มต้นอุตสาหกรรมขึ้นในอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งทำให้นาฬิกามีราคาถูกลงอย่างมากส่งผลให้การผลิตนาฬิกาของยุโรปต้องปรับเปลี่ยนตามไปเช่นกัน

นาฬิกาประเภทงานฝีมือ 10 อันดับแรกของโลกนั้น จำนวน 8 ใน 10 เป็นนาฬิกาของสวิส ได้แก่ Tag Heuer, IWC, Breitling, Omega, Rolex, Jaeger-LeCoultre, Zenith และ Fortis อันดับที่ 2 และ 4 เป็นของเยอรมันได้แก่ Sinn และ A. Lange & Söhne นาฬิกาประเภทนี้จะยังคงเป็นระบบแมคคานิคซึ่งมีชิ้นส่วนประกอบอยู่อย่างน้อย 300 ชิ้น และมีขั้นตอนทำงานมากกว่า 70 ขั้นตอน ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 พันชั่วโมงต่อการผลิตนาฬิกา 1 เรือน เปรียบเทียบกับนาฬิกาผลิตในโรงงาน เช่น Swatch ซึ่งมีชิ้นส่วนประกอบเพียง 51 ชิ้นเท่านั้น

ปรากฏการณ์ที่พิสูจน์ถึงชื่อเสียงของนาฬิกาสวิสได้ดีนั้นคือ นักบินอวกาศอเมริกันที่ลงเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลกนั้นใส่นาฬิกา Omega แต่โอบามาและรอมนี่ก็สนับสนุนอุตสาหกรรมนานาฬิกาอเมริกันโดยการใช้ American-made watch ทั้งสองคน

สวิสเองก่อนที่จะตั้งตัวกลับมาเป็นผู้นำทางการผลิตภัณฑ์นาฬิกาได้อีกครั้งในปัจจุบันนี้ก็ล้มลุกคลุกคลานมาแล้วหลายรอบตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สาหัสที่สุดคือการแข่งขันจากอเมริกาและญี่ปุ่นด้วยการนำระบบเทคนิคใหม่คือระบบอิเลคทรอนิคส์ที่ใช้ quartz crystal ซึ่งแท้จริงแล้วระบบนี้ช่างทำนาฬิกาสวิสมี know-how มาก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงปี 1960 แต่ไม่ได้นำมาพัฒนาใช้ให้เป็นผล จนในที่สุดเกิดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสขึ้นโดย Nicolas Hayek ผู้นำการผลิตนาฬิกา quartz ของสวิสยี่ห้อ Swatch ขึ้นและกลายเป็นบริษัทผลิตนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุดของโลก

ซึ่งถ้ามีการสงสัยว่าในบริษัทอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสเช่นว่านี้จะมีการผลิตอะไหล่ชิ้นส่วนในประเทศที่ค่าแรงถูกกว่า เช่น ไทย หรือ จีน ฯลฯ ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ผมไม่คิดว่านาฬิกายี่ห้อติดอันดับข้างต้นจะใช้มาตรการดังกล่าว เพราะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อชื่อเสียงและไม่คุ้มกับราคานาฬิกาเรือนเป็นแสนบาท

ทีนี้มาตอบคำถามของ จขกท เรื่องค่าจ้างของช่างทำนาฬิกา ใน 3 ประเทศนี้มีระบบการเรียนการสอนคล้ายกันคือ เยอรมนี สวิส และ ออสเตรีย โดยทั่วไปจะเป็นเช่นที่คุณ Willkommen กล่าวถึงไว้ ส่วนค่าจ้างนั้นจะได้รับเลยตั้งแต่เริ่มการเรียนในระบบฝึกงานควบคู่ไปด้วย อย่างเช่นในเยอรมนี นักเรียนช่างทำนาฬิกาปีแรกได้เงินค่าจ้างแล้วเดือนละราว 650 ยูโร ไปถึงปีที่สามจะได้ราว 900 ยูโร ในสวิสค่าจ้างจะสูงที่สุดในยุโรปสามารถบวกเพิ่มขึ้นไปได้เลย 2-3 เท่าตัว

อย่างที่อธิบายข้างต้นแล้วว่า ช่างทำนาฬิกานั้นขึ้นอยู่กับว่าทำงานที่ไหน? ทำงานกับนาฬิกาหรูราคาแพงและใช้ฝีมือมากเป็นงานยากและไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้เหมือนกันหมด ค่าจ้างก็จะสูงที่สุด ถ้าทำเป็นช่างในโรงงานอุตสาหกรรมค่าจ้างก็ต่ำลงมา ทำงานเป็นคนขายหรือศูนย์ซอมก็เป็นค่าจ้างอีกแบบ แต่สรุปให้เห็นภาพกว้างๆ ได้ว่า ช่างนาฬิกาของสวิสนั้นมีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนราว 5600 Frank หรือราว 3500 ยูโรต่อเดือน ค่าจ้างนี้ถ้าเป็นในเยอรมนีหรือออสเตรียจะต่ำกว่านี้คือราว 2000 ยูโร แต่เนื่องจากค่าครองชีพในสวิสสูงกว่ามากค่าจ้างในสวิสจึงจะสูงกว่าทุกประเทศในยุโรป

ที่คุณ Willkommen บอกว่าอาชีพช่างทำนาฬิกาเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยมีคนเรียนนั้น สาเหตุเพราะการผ่านคุณสมบัติในการเข้าเรียนไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างทำนาฬิกาแพงจะได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนและฝึกงานในบริษัทตั้งแต่เริ่มแรกเลย คนกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติดีที่สุดในสายอาชีพ อย่างที่บอกแล้วว่างานนี้เป็นงานที่ต้องใช้พรสวรรค์ด้วยนอกจากฝีมือและประสบการณ์ จึงเข้าข่ายงานศิลปะซึ่งหมายถึงการจะทำงานนี้ได้ดีต้องทำด้วยจิตใจที่ปราถนาอันแรงกล้าเช่นเดียวกับงานศิลป์อื่นๆ

นอกจากนั้นแล้วสวิสเองยังขาดช่างฝีมือทางด้านนี้อีกมาก ด้วยสาเหตุจากคนเก่าที่ต้องปลดเกษียนอายุไปและจำนวนคนใหม่ที่ต้องเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดโลกที่นาฬิกาสวิสได้รับนิยมสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 95% ของนาฬิกาที่ผลิตในสวิสจะเป็นสินค้าส่งออกและคิดเป็นส่วนแบ่งราว 35% ของตลาดโลก และถ้าเป็นส่วนแบ่งตลาดนาฬิกายี่ห้อแพงแล้ว นาฬิกาสวิสครองตลาดส่วนใหญ่อยู่ถึง 85%

"



ขอบคุณสำหรับข้อมูล เขียนเรียบเรียงได้ดีมาก เป็นประโยชน์มากครับ ขออนุญาตสำเนาไปเล่าต่อครับ ...ช่างเคี้ยง
ความคิดเห็นที่ 8
สวัสดีค่ะคุณ__newcomer (gpvtu2009)
ค่ะดิฉันก็ใส่ไม่ติดค่ะใส่ไม่ติดวางไว้จนลืมฝุ่นเขอะไปเลย
ชอบไปเดินดูหน้าคริสมาสสวยๆงามมากนาฬิกาสวยๆ
แคงไม่คิดจะซื้ออย่างที่บอกค่ะมันแพงเกินสำหรับคนอย่างเราๆ
เอาเงินไว้เลี้ยงลูกให้เรียนจบก่อนค่ะ


สวัสดีค่ะคุณ__Bagheera
ถูกต้องค่ะเพราะอาชีพนี้จะต้องมีพรสวรรค์ในการทำงาน
เพราะไม่ใช่ว่าใครๆก็ทำได้
ถ้าใจไม่รักไม่สามารถจะอดทนได้แน่นอน
อยู๋กับแว่นขยายและนั่งจ้องและอื่นๆ

ใช่ค่ะอาชีพอะไรที่สวิสมีการเริ่มต้นด้วยการหลังจากเรียนจบ
เงินเดือนน้อยจะต้องใต่เต้ารอไปเรื่อยๆกว่าจะได้เงินเดือนสูงๆ
ตามวัยตามประสบการณ์
เพราะอาชีพนี้ก็เหมือนอาชีพอื่นๆที่ไม่ได้สูงส่งอะไร
ก็จะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำหลังจากเรียนจบมาตามสายอาชีพ


อย่างอาชีพครูที่สวิสที่ใช้เวลาในการเล่าเรียน
จากอนุบาลตอนอายุ 4 ปีครึ่งจนถึงวัย 30
จะได้รับค่าแรงขั้นต่ำเริ่มต้นราว 7,000
เจ็ดพันสวิสฟรังค์ต่อเดือน
จะเห็นได้ว่าอาชีพที่ใช้เวลาที่เรียนนานๆ
กว่าจะถึงจุดนี้อายุปาเข้าไป30


ส่วนอาชีพธรรมดาหลังจากจบ ม. 3
ไปต่อสายอาชีพอีก 3- 4ปี
อายุแค่ 22 -23 ก็หางานทำตามสายอาชีพที่เรียนมา
มันแตกต่างกันมากค่ะกับอาชีพของคนสวิสที่คนเขาเรียนกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 8